กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ( 5 STEPs)
การปฏิรูปการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หวังที่จะพัฒนาเด็กไทยและคนไทยให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ของครู จึงต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs” ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสืบสอบหรือวิธีสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย "การตั้งคำถาม การแสวงหาสารสนเทศ การสร้างความรู้ การสื่อสาร และการตอบแทนสังคม" ซึ่งจะเป็นตัวช่วยพัฒนาครูให้มีคุณภาพ อีกทั้งจะสามารถทำให้เด็กไทยเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ตั้งคำถาม หรือขั้นตั้งคำถาม
เป็นที่ให้นักเรียนฝึกสังเกตสถานการณ์ ปรากฏการณ์ต่างๆ จนเกิดความสงสัย จากนั้นฝึกให้เด็กตั้งคำถามสำคัญ รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบ ด้วยการสืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ และสรุปคำตอบชั่วคราว
ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ
เป็นขั้นตอนการออกแบบ/วางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการทดลองเป็นขั้นที่เด็กใช้หลักการนิรภัย (Deduction reasoning) เพื่อการออกแบบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
เป็นขั้นตอนที่เด็กมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ หรือด้วยผังกราฟิก การแปรผล จนถึงการสรุปผล หรือการสร้างคำอธิบาย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งเป็นแก่นความรู้ประเภท
1. ข้อเท็จจริง
2. คำนิยาม
3. มโนทัศน์
4. หลักการ
5. กฎ
6. ทฤษฏี
ขั้นตอนที่ 4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร
คือ ขั้นนำเสนอความรู้ด้วยการมใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจ อาจเป็นการนำเสนอภาษา และนำเสนอด้วยวาจา
ขั้นตอนที่ 5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม
เป็นขั้นตอนการฝึกเด็กให้นำความรู้ที่เข้าใจ นำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม หรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นความรู้ แนวทางสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการแสดงออกของการเกื้อกูล และแบ่งปันให้สังคมมีสันติอย่างยั่งยืน
Teacher: นางนวมนตณ์ มากมี
คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา I20201 รายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
กลุ่มสาระการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
----------------------------------------------------------------
ศึกษาการตั้งคำถาม ระบุประเด็นความรู้ที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ การตั้งสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ การเลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศ การรวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประเด็นความรู้กับข้อสรุป การออกแบบ วางแผน กำหนดขอบเขต และลำดับขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเสนอแนวคิดใช้เทคนิควีการแก้ปัญหาจากการสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่สนใจ การบันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบและการสรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการค้นพบด้วยตนเองหรือกลุ่ม
โดยใช้ทักษะกระบวนการตั้งคำถาม ระบุประเด็น ตรวจสอบ ค้นคว้า นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ตั้งสมมติฐาน วางแผน เลือกเทคนิควิธีการ ใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศ รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูล ใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ ออกแบบ เสนอแนวคิด ใช้เทคนิควิธีการแก้ปัญหา อธิบายกระบวนการคิดเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม บันทึก โต้แย้ง สรุปประเด็นความรู้ อภิปราย วิพากษ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการได้อย่างถูกต้อง ตระหนัก เห็นคุณค่า รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ เกิดความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการเรียนรู้
1. ตั้งคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ หรือศึกษาค้นคว้า เรื่องที่สนใจ ได้อย่างครอบคลุม และสามารถ สำรวจตรวจสอบได้ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ตระหนักและเห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ
2. ระบุประเด็นความรู้ที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า เรื่องที่สนใจได้อย่างคลอบคลุมและเชื่อถือได้ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ตระหนักและเห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ
3. สำรวจตรวจสอบแหล่งข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ ได้อย่างครอบคลุมและหลากหลาย ตระหนักและเห็นคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า
4. ตั้งสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนการสำรวจตรวจสอบ ได้อย่างสมเหตุสมผลและมีจิตวิทยาศาสตร์
5. วางแผนการสำรวจตรวจสอบข้อมูล อย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการรายงานข้อมูล ตระหนักและเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ สุจริต
6. เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศ อย่างเป็นระบบ ตระหนักและเห็นคุณค่าของการอยู่อย่างพอเพียง
7. เสนอแนวคิด ใช้เทคนิควิธีการแก้ปัญหา จากการสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่สนใจ และนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด ด้วยกระบวนการคิดเป็นรายบุคคล หรือกลุ่ม ให้ผู้อื่นเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึกรักความเป็นไทย
8. รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และวางแผนการรวบรวมข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
9. จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศโดยใช้หลักการทางสถิติได้อย่างถูกต้อง ตระหนักและเห็นคุณค่าของความมุ่งมั่นในการทำงาน
10. วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าเชื่อถือ หรือวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้อง ประเด็นความรู้ กับข้อสรุป นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา อย่างสมเหตุสมผล
11. วางแผนและกำหนดขอบเขต ในการเก็บรวบรวมข้อมูล อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ตระหนักและเห็นคุณค่าของความมุ่งมั่นในการทำงาน
12. เสนอแนวคิดเชื่อมโยง สอดคล้องกับทฤษฎีจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
13. เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น และเหมาะสมกับเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้า ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้
14. บันทึกและอธิบายผล การสำรวจตรวจสอบที่ได้จากการค้นพบด้วยตนเอง หรือกลุ่ม โดยใช้เทคนิควิธีการแก้ปัญหา อธิบายกระบวนการคิดเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มอย่างถูกต้องและเหมาะสม
15. สรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าด้วยตนเองหรือกลุ่ม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ต่อตนเองและสังคม ตระหนักและเห็นคุณค่าของการรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
รวม 15 ผลการเรียนรู้
Teacher: นายกามนิตย์ พาภักดี
รหัสวิชา I30201 รายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ IS
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ศึกษาการตั้งคำถาม ระบุประเด็นความรู้ที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ การตั้งสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ การเลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศ การรวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประเด็นความรู้กับข้อสรุป การออกแบบ วางแผน กำหนดขอบเขต และลำดับขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเสนอแนวคิดใช้เทคนิควีการแก้ปัญหาจากการสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่สนใจ การบันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบและการสรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการค้นพบด้วยตนเองหรือกลุ่ม
โดยใช้ทักษะกระบวนการตั้งคำถาม ระบุประเด็น ตรวจสอบ ค้นคว้า นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ตั้งสมมติฐาน วางแผน เลือกเทคนิควิธีการ ใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศ รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูล ใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ ออกแบบ เสนอแนวคิด ใช้เทคนิควิธีการแก้ปัญหา อธิบายกระบวนการคิดเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม บันทึก โต้แย้ง สรุปประเด็นความรู้ อภิปราย วิพากษ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการได้อย่างถูกต้อง ตระหนัก เห็นคุณค่า รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ เกิดความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการเรียนรู้
1. ตั้งคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ หรือศึกษาค้นคว้า เรื่องที่สนใจ ได้อย่างครอบคลุม และสามารถ สำรวจตรวจสอบได้ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ตระหนักและเห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ
2. ระบุประเด็นความรู้ที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า เรื่องที่สนใจได้อย่างคลอบคลุมและเชื่อถือได้ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ตระหนักและเห็นคุณค่าของการมีจิตสาธารณะ
3. สำรวจตรวจสอบแหล่งข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ ได้อย่างครอบคลุมและหลากหลาย ตระหนักและเห็นคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า
4. ตั้งสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้ และวางแผนการสำรวจตรวจสอบ ได้อย่างสมเหตุสมผลและมีจิตวิทยาศาสตร์
5. วางแผนการสำรวจตรวจสอบข้อมูล อย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการรายงานข้อมูล ตระหนักและเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ สุจริต
6. เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศ อย่างเป็นระบบ ตระหนักและเห็นคุณค่าของการอยู่อย่างพอเพียง
7. เสนอแนวคิด ใช้เทคนิควิธีการแก้ปัญหา จากการสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่สนใจ และนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด ด้วยกระบวนการคิดเป็นรายบุคคล หรือกลุ่ม ให้ผู้อื่นเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึกรักความเป็นไทย
8. รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และวางแผนการรวบรวมข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
9. จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้วัสดุและเครื่องมือสารสนเทศโดยใช้หลักการทางสถิติได้อย่างถูกต้อง ตระหนักและเห็นคุณค่าของความมุ่งมั่นในการทำงาน
10. วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าเชื่อถือ หรือวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้อง ประเด็นความรู้ กับข้อสรุป นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา อย่างสมเหตุสมผล
11. วางแผนและกำหนดขอบเขต ในการเก็บรวบรวมข้อมูล อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ตระหนักและเห็นคุณค่าของความมุ่งมั่นในการทำงาน
12. เสนอแนวคิดเชื่อมโยง สอดคล้องกับทฤษฎีจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
13. เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น และเหมาะสมกับเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้า ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้
14. บันทึกและอธิบายผล การสำรวจตรวจสอบที่ได้จากการค้นพบด้วยตนเอง หรือกลุ่ม โดยใช้เทคนิควิธีการแก้ปัญหา อธิบายกระบวนการคิดเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มอย่างถูกต้องและเหมาะสม
15. สรุปประเด็นความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าด้วยตนเองหรือกลุ่ม นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่อตนเองและสังคม ตระหนักและเห็นคุณค่าของการรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
รวม 15 ผลการเรียนรู้
Teacher: นางเพ็ญวดี ค้าสุวรรณ
กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ( 5 STEPs)
การปฏิรูปการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หวังที่จะพัฒนาเด็กไทยและคนไทยให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ของครู จึงต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน หรือ 5 STEPs” ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสืบสอบหรือวิธีสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย "การตั้งคำถาม การแสวงหาสารสนเทศ การสร้างความรู้ การสื่อสาร และการตอบแทนสังคม" ซึ่งจะเป็นตัวช่วยพัฒนาครูให้มีคุณภาพ อีกทั้งจะสามารถทำให้เด็กไทยเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วย
ขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ตั้งคำถาม หรือขั้นตั้งคำถาม
เป็นที่ให้นักเรียนฝึกสังเกตสถานการณ์ ปรากฏการณ์ต่างๆ จนเกิดความสงสัย จากนั้นฝึกให้เด็กตั้งคำถามสำคัญ รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบ ด้วยการสืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ และสรุปคำตอบชั่วคราว
ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ
เป็นขั้นตอนการออกแบบ/วางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการทดลองเป็นขั้นที่เด็กใช้หลักการนิรภัย (Deduction reasoning) เพื่อการออกแบบข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
เป็นขั้นตอนที่เด็กมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ หรือด้วยผังกราฟิก การแปรผล จนถึงการสรุปผล หรือการสร้างคำอธิบาย เป็นการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งเป็นแก่นความรู้ประเภท
1. ข้อเท็จจริง
2. คำนิยาม
3. มโนทัศน์
4. หลักการ
5. กฎ
6. ทฤษฏี
ขั้นตอนที่ 4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร
คือ ขั้นนำเสนอความรู้ด้วยการมใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจ อาจเป็นการนำเสนอภาษา และนำเสนอด้วยวาจา
ขั้นตอนที่ 5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม
เป็นขั้นตอนการฝึกเด็กให้นำความรู้ที่เข้าใจ นำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม หรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นความรู้ แนวทางสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการแสดงออกของการเกื้อกูล และแบ่งปันให้สังคมมีสันติอย่างยั่งยืน
https://docs.google.com/presentation/d/1TbP-RGEpIzIVwHYQhVMyEj1W87xmHOMd-1DjcTxvwSA/edit?usp=sharing
Teacher: นางจรุงจิตต์ โลมรัตน์