คำอธิบายรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 1  เวลาเรียน  20  ชั่วโมง   

-----------------------------------

                ศึกษากิจกรรมที่จัดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ธรรมชาติของผู้เรียนและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ครอบคุลมทั้งด้าน การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม จนเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะชีวิต โดยมีครูผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมและประสานความร่วมมือกับครูหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

          โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านกายภาพ  ความคิด อารมณ์และจิตใจ  เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้านกายภาพ ความคิด อารมณ์และจิตใจ  รู้จักและเข้าใจความสนใจ ความถนัดและความสามารถทั้งด้านการเรียนและอาชัพของตนเองและผู้อื่น รู้จักและเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองและผู้อื่น ยอมรับ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นด้านกายภาพ ความคิด อารมณ์และจิตใจ  ยอมรับรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นด้านความสนใจ ความถนัด ความสามารถทั้งด้านการเรียนและอาชีพ ยอมรับ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นด้านบุคลิกภาพ

          เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการเรียน อาชีพ รวมทั้งการดำเนินชีวิตและสังคม  รู้ข้อมูลโลกกว้างทางการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งความต้องการของตลาดแรงงาน พิจารณาและเชื่อมโยงข้อ มูลตนเองกับโลกกว้างทางการ ศึกษาและอาชีพรวมทั้งความต้องการของตลาด แรงงาน  ตัดสินใจเลือกอาชีพที่สอดคล้องและเหมาะสมกับตนเอง  ออกแบบการพัฒนาตน เองด้านการศึกษา ส่วนตัวและสังคมเพื่อเข้าสู่อาชีพที่เลือก ปฏิบัติ ประเมินและปรับปรุงตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ปรับตัวด้านการเรียนได้อย่างเหมาะสม ปรับตัวด้านอาชีพได้อย่างเหมาะสม ปรับตัวด้านส่วนตัวและสังคมได้อย่างเหมาะสม มีทักษะชีวิตและอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข

            การจัดกิจกรรมแนะแนวมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ดังนี้

          1. ด้านการศึกษา ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองในด้านการเรียนอย่างเต็มตามศักยภาพ รู้จักแสวงหาและ

ใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนการเรียน หรือการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีนิสัย ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีวิธีการเรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียน หรือการศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม

          2. ด้านอาชีพ  ให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองในทุกด้าน รู้และเข้าใจโลกของงานอาชีพอย่างหลาก หลาย

มีเจตคติที่ดี ต่ออาชีพสุจริต มีการเตรียมตัวสู่อาเซียน สามารถวางแผนเพื่อประกอบอาชีพตามที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ

          3.  ด้านส่วนตัวและสังคม ให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มีเจตคติที่ดีต่อการมีชีวิตที่ดี มีคุณภาพ มีทักษะชีวิต สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

          4. ด้านการมีส่วนร่วม ให้ผู้เรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกันและสามารถยอมรับใน

ความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้นได้

          ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน   การเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์และความหลากหลาย การเชื่อมโยงโลกและท้องถิ่น การส่งเสริมความเสมอภาคและความยุติธรรม และการทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

          ผู้เรียนมีความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิด เป้าหมาย หลักการ เงื่อนไขพื้นฐาน นิยามของความพอเพียง เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียงสามารถนำไปปฏิบัติได้เช่น ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม

          ผู้เรียนมีความรู้เรื่องโรงเรียนสุจริต สามารถนำไปปฏิบัติได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีทักษะกระบวนการคิด ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบแยกแยะ  ทักษะกระบวนการคิดเชิงเหตุผล คิดอย่างวิจารณญาณ  ทักษะกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์คิดแก้ปัญหา  มีวินัย วินัยต่อตนเองผู้อื่นและสังคม รับผิดชอบต่อหน้าที่และสิทธิของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ  ซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตรงความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจ  ประพฤติตรงความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม ประพฤติตรงความเป็นจริงต่อสังคมและโลกทั้งทางกาย วาจาและใจ  อยู่อย่างพอเพียง ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม  ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน ร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนชุมชน สังคม  มีจิตสาธารณะ

          ผู้เรียนมีความรู้เรื่องค่านิยม 12 ประการ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เป็นพลเมืองดี

ของประเทศชาติและมีความเป็นพลโลกได้เช่น 1) มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม3) กตัญญูต่อพ่อ แม่ ผู้ปกครองครูบาอาจารย์ 4) ใฝ่หาความรู้

หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 5) รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 6) มีศีลธรรมรักษา

ความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน  7) เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 8) มีระเบียบวินัยเคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 9) มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10)  รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น  มีไว้พอกิน พอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 11)  มีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจใฝ่ต่ำหรือกิเลศ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ตามหลักของศาสนา  12)  คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและของชาติมากกว่าประโยชน์ของตนเอง

 รหัสมาตรฐาน/รหัสตัวชี้วัด

มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

          ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

          ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าผู้อื่นและปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนสามารถวางแผนชีวิตด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม

          ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ผู้เรียนสามารถศึกษา วิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาและวางแผนด้านการศึกษา

          ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาและวางแผนด้านอาชีพ

          ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาและวางแผนด้านส่วนตัวและ 

                          สังคม

รวม 5 ตัวบ่งชี้